การสอนโดยเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K W D L)


การสอนโดยเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K W D L)
ประวัติความเป็นมา
การสอนโดยการใช้เทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K W D L) หรือ เทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K W D L) ได้พัฒนาขึ้นโดย Ogle (1989) เพื่อใช้สอนและฝึกทักษะทางการอ่าน และต่อมาได้พัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้น โดย Carr และ Ogle ในปีถัดมา (1987) โดยยังคงสาระเดิมไว้ แต่เพิ่มการเขียนผังสัมพันธ์ทางความหมาย (Semantic Mapping) สรุปเรื่องที่อ่าน และมีการนำเสนอเรื่องจากผังอันเป็นการพัฒนาทักษะการเขียนและพูด นอกเหนือไปจากทักษะการฟัง และการอ่าน โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการสอนทักษะภาษา แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาอื่นๆที่มีการอ่านเพื่อทำความเข้าใจ เช่น วิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นต้น เพราะว่าผู้เรียนจะได้รับการฝึกให้ตระหนักในกระบวนการการทาความเข้าใจตนเอง การวางแผนการ ตั้งจุดมุ่งหมาย ตรวจสอบความเข้าใจในตนเอง การจัดระบบข้อมูล เพื่อดึงมาใช้ภายหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีประโยชน์ในการฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียนสรุป และนำเสนอ

วิธีการ / กระบวนการ
การสอนโดยการใช้เทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K W D L) มีขั้นตอนการเรียนการสอน 4 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 K (What we know) นักเรียนรู้อะไรบ้างในเรื่องที่จะเรียนหรือสิ่งที่โจทย์บอกให้ทราบมีอะไรบ้าง
ขั้นที่ 2 W (What we want to know) นักเรียนหาสิ่งที่โจทย์ต้องการทราบหรือสิ่งที่นักเรียนต้องการรู้
ขั้นที่ 3 D (What we do to find out) นักเรียนจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อหาคำตอบตามที่โจทย์ต้องการ หรือสิ่งที่ตนเองต้องการรู้
ขั้นที่ 4 L (What we learned) นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

ตัวอย่างแผนการสอน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9
เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร 5
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์                                                          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
รายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน ค23101                                                   ภาคเรียนที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ระบบสมการเชิงเส้น                                               เวลา 1 ชั่วโมง

1.สาระสำคัญ
          การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร เป็นการหาคำตอบของระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรโดยใช้วิธีการกำจัดตัวแปร สามารถทำได้โดยใช้สมบัติการบวกและสมบัติการคูณ ซึ่งกำหนดระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
                   ax + by = c --------------------(1)
                   dx + ey = f --------------------(2)
          การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้วิธีการกำจัดตัวแปร มีวิธีการดังนี้
1) ทำสัมประสิทธิ์ของตัวแปรที่ต้องการกำจัดให้เป็นจำนวนที่เท่ากัน หรือตรงข้ามกัน โดยใช้สมบัติการคูณ
2) ถ้าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรที่ต้องการกำจัดเท่ากันให้ใช้การลบ จะทำให้ตัวแปรนั้นหมดไป ถ้าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรที่ต้องการกำจัดเป็นจำนวนตรงข้ามกันให้ใช้การบวก จะทำให้ตัวแปรนั้นหมดไป
3) ให้สมบัติการเท่ากันหาค่าตัวแปรที่เหลือ
4) นำค่าของตัวแปรที่ได้จากข้อ 3 ไปแทนค่าในสมการจะได้ค่าของตัวแปรที่เหลืออีกตัวหนึ่ง

2. ตัวชี้วัดชั้นปี
        สาระที่ 4 พีชคณิต
        มาตรฐาน ค 4.2  ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และตัวแบบเชิงเส้นคณิตศาสตร์ (mathematical model) อื่นๆ แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจนแปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา
          ตัวชี้วัด
          ค 4.2 .3/5 แก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรและสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาพร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ

3. จุดประสงค์การเรียนรู้
          3.1ด้านความรู้(K)
                   1.ผู้เรียนสามารถบอกวิธีการแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรได้
          3.2ด้านทักษะ(P)
                   1.ผู้เรียนสามารถแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรโดยใช้วิธีการกำจัดตัวแปร
                   2.ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม
                   3.ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจและสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
          3.3ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์(A)
                   1.ทำงานเป็นระเบียบ เรียบร้อย รอบคอบและมีความเชื่อมั่นในตนเอง
                   2.ตระหนักถึงความสมเหตุสมผล
                   3.ตระหนักในคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์

4.การวัดผล และประเมินผล
สิ่งที่ต้องการวัด/ประเมิน
เครื่องมือวัดผล
เกณฑ์การประเมินผล
1.สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
นักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม
2.ตรวจผลการทำแบบฝึกทักษะที่ 9 เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร 5
แบบฝึกทักษะที่ 9 เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร 5
นักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม

5.สาระการเรียนรู้ 
          5.1 ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
          5.2 การแก้ระบบสมการสองตัวแปรโดยใช้วิธีการกำจัดตัวแปร

6.กระบวนการจัดการเรียนรู้
        ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                1.ผู้สอนทุกทนความรู้เดิมของผู้เรียน เรื่องการแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรโดยใช้วิธีการกำจัดตัวแปรโดยให้ผู้เรียนออกมาเฉลยใบกิจกรรมบนกระดาน
                   2.ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องพร้อมอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่ผิด
        ขั้นที่ 2 ขั้นสอนเนื้อหาใหม่
                   1.ผู้สอนแบ่งกลุ่มโดยค่าความสามารถกลุ่มละ 5-6 คน ประกอบด้วยผู้เรียนที่มีระดับความสามารถสูง 1 คนปานกลาง 3 คน และต่ำ 2 คน
                   2.ผู้สอนทบทวนขั้นตอน KWDL และยกตัวอย่าง ดังนี้
ตัวอย่างที่ 1 จงแก้ระบบสมการ 3x + 2y – 2 = 0  ;  2x +2y + 1 = 0
วิธีทำ  ขั้นที่ 1 K : เรารู้อะไร (what we know) โจทย์บอกอะไรเราบ้าง
                   ให้       3x + 2y – 2 = 0 -------------------(1)
                             2x +2y + 1 = 0 --------------------(2)
          ขั้นที่ 2 W : เราต้องการรู้ / ต้องการทราบอะไร (what we want to know) หาสิ่งที่โจทย์ต้องการทราบ เราต้องการทราบคำตอบของสมการนี้
          ขั้นที่ 3 D : เราต้องทำอะไร / อย่างไร (what we do) เรามีวิธีการหาคำตอบอย่างไร
ถ้าต้องการกำจัดตัวแปร y จะได้
                             (1) – (2) ; (3x + 2y) – (2x + 2y) = 2 – (-1)
                                             3x + 2y – 2x -2y  = 3
                                                                  X = 3
                   นำค่า x = 3 แทนในสมการ (1) จะได้
                                                   3(3) + 2y – 2 = 0
                                                                 2y = 2 - 9
                                                                  Y = -7/2
          ขั้นที่ 4 L : เราเรียนรู้อะไรจากขั้นตอนที่ 3 (what we learned) วิธีการศึกษาคำตอบและการคิดคำนวณ
                   คำตอบของระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร คือ (3 , -7/2)

        ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกทักษะโยใช้เทคนิค K-W-D-L
                   1.ให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมารับใบความรู้และแบบฝึกทักษะที่ 9 เรื่องการแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร 5 โดยใช้วิธีการกำจัดตัวแปร
                   2.ให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองาน พร้อมกับให้แต่ละกลุ่มตั้งคำถามกลุ่มละ 1 คำถาม เพื่อทำกลุ่มที่ได้ออกมารายงาน
        ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผล
                   1.ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับวิธีการแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรโดยใช้วิธีการกำจัดตัวแปร ดังนี้
                        การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร เป็นการหาคำตอบของระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้วิธีการกำจัดตัวแปร สามารถทำได้โดยใช้สมบัติการบวกและสมบัติการคูณ ซึ่งจะกำหนดระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
                             ax + by = c --------------------(1)
                             dx + ey = f --------------------(2)
                        การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้วิธีการกำจัดตัวแปร มีวิธีการดังนี้
1) ทำสัมประสิทธิ์ของตัวแปรที่ต้องการกำจัดให้เป็นจำนวนที่เท่ากัน หรือตรงข้ามกัน โดยใช้สมบัติการคูณ
2) ถ้าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรที่ต้องการกำจัดเท่ากันให้ใช้การลบ จะทำให้ตัวแปรนั้นหมดไป ถ้าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรที่ต้องการกำจัดเป็นจำนวนตรงข้ามกันให้ใช้การบวก จะทำให้ตัวแปรนั้นหมดไป
3) ให้สมบัติการเท่ากันหาค่าตัวแปรที่เหลือ
4) นำค่าของตัวแปรที่ได้จากข้อ 3 ไปแทนค่าในสมการจะได้ค่าของตัวแปรที่เหลืออีกตัวหนึ่ง
                  
2.ให้ผู้เรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นโดยถามคำถามท้าทายดังนี้
                        ผู้เรียนคิดว่าการแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรโดยใช้วิธีการกำจัดตัวแปรและการแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรโดยวิธีการแทนค่า แตกต่างกันอย่างไร
                   3.ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนทุกคนกลับไปศึกษาเรื่องการแก้โจทย์ปัญหาในหนังสือก่อนล่วงหน้า

7.สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
          7.1 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
          7.2 ใบความรู้ เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร 5
          7.3 ใบกิจกรรมที่ 9 เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร 5
          7.4 แบบฝึกทักษะที่ 9 เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร 5

8.ข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษา
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................................

                                                                              ลงชื่อ ........................................................
                                                                                   (นายสมใจ  วิเศษทักษิณ)

                                                                                    ........./............./..........

ที่มา

ประภัสรา โคตะขุน. (2555). https://sites.google.com/site/prapasara/khanaen-sxb-klang-phakh-1. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2561.
          มัณฑิกา กันตวิรุฒ. (2559). https://www.kroobannok.com/80419. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2561.

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม